วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ก.ไอซีที จัดกิจกรรม ICT Camp ส่งเสริมพัฒนาการใช้ ICT ในกลุ่มเด็กและเยาวชน

        นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังพิธีเปิดการอบรมสัมมนาหลักสูตร “ค่ายครูยุคดิจิตอล” ภายใต้กิจกรรม ICT CAMP ว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะในการใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม การพัฒนาด้านไอซีทีที่รวดเร็วนี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาสำคัญ 2 ประการ คือ การเข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศ ที่ทำให้เกิดความแตกต่างของผู้ใช้ข่าวสารได้เร็ว กับผู้เข้าถึงข่าวสารได้ช้า ซึ่งเกิดเป็นช่องว่างทางดิจิตอล และการใช้ไอทีในกลุ่มเด็กและเยาวชนในรูปแบบที่ไม่สร้างสรรค์ โดยใช้เพื่อการบันเทิง ใช้เพื่อการแสดงออกแบบไร้ขอบเขต หรือสื่อสารในเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ ขณะเดียวกันก็ขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้ไอซีทีเพื่อแสวงหาความรู้ และใช้อย่างสร้างสรรค์ ทำให้การใช้ไอทีในกลุ่มนี้ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ตามยุทธศาสตร์กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในยุทธศาสตร์ที่ 4 คือ การส่งเสริมและพัฒนาการใช้ ICT ของบุคลากรทุกภาคส่วนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ที่ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรเพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพราะถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ  “กระทรวงฯ ได้ตระหนักถึงปัญหาทั้ง 2 ประการดังกล่าว จึงมีนโยบายที่จะลดช่องว่าง และส่งเสริมการใช้ไอซีทีให้ทั่วถึงเท่าเทียมกันเพื่อลดความแปลกแยกทางดิจิตอล โดยเน้นประชาชนทุกภาคส่วน ทั้งระดับเด็ก เยาวชน ไปจนถึงผู้ใหญ่ จากส่วนกลางไปจนถึงส่วนภูมิภาคของประเทศ ด้วยการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนขึ้น เพื่อใช้เป็นแหล่งกระจาย และเรียนรู้การใช้ข้อมูลข่าวสารของชุมชน พร้อมกันนี้ยังได้มีนโยบายที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะในระดับที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนต่างๆ เพื่อบูรณาการการใช้ความรู้ทางด้านไอซีทีให้เกิดประโยชน์ ทั้งต่อตนเอง ต่อสังคมและประเทศชาติ โดยการดำเนินงานกิจกรรม ICT Camp ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาการใช้ ICT ในกลุ่มเด็กและเยาวชน”
        นายสือ กล่าวสำหรับวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจกรรม ICT Camp นั้น เพื่อให้เด็ก เยาวชน ครู ผู้ปกครอง และกลุ่มชุมชนของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้าน ICT โดยเน้นทักษะกระบวนการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ แยกแยะข่าวสาร ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง เข้าใจสังคม กฎระเบียบ มีคุณธรรมจริยธรรม และช่วยเหลือสังคมให้น่าอยู่ สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมไซเบอร์รวมทั้งเพื่อช่วยส่งเสริมกิจกรรมทางด้าน ICT บนพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้ประโยชน์ ICT อย่างสร้างสรรค์ บูรณาการ ICT เพื่อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ การอยู่ร่วมกันในสังคมใหม่ที่เรียกว่า สังคมไซเบอร์ อย่างสงบสุข การใช้ชีวิตที่สมดุลทั้งโลกในความเป็นจริงและโลกออนไลน์เสมือนจริง การใช้และการให้ข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมอย่างถูกต้องมีคุณธรรม สามารถป้องกันตนเองจาก พิษภัยในโลกเสมือนจริงของสังคมไซเบอร์ และมีความปลอดภัยในโลกออนไลน์ ลดปัญหาช่องว่างทางการศึกษา (Digital Divide) ของเยาวชนไทยด้าน ICT
        นอกจากนั้นการจัดกิจกรรม ICT Camp ยังเป็นการสร้างโอกาสให้เยาวชนไทยได้ใช้ความรู้ เกิดทักษะและความคิดสร้างสรรค์ด้าน ICT รู้จักนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง และสังคม รวมถึงการเปิดกิจกรรมทางเลือกที่สร้างสรรค์เพื่อใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ ทดแทนการใช้ ICT ที่เกิดประโยชน์น้อย เช่น เล่นเกม เล่นเน็ต เล่นแชต ฯลฯ รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายเยาวชนด้าน ICT ที่สามารถถ่ายทอดความรู้และการใช้ ICT เพื่อให้มีการเผยแพร่ความรู้ กระจายไปจนก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ด้าน ICT โดยเน้นให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ตลอดจนเกิดการบูรณาการการใช้ความรู้ ICT กับชุมชนและสังคม เพื่อสร้างทัศนคติและเจตคติที่ดีต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  “การดำเนินกิจกรรมฯ นี้ จะทำให้เกิดการศึกษาถึงวิธีการ แนวทางส่งเสริมการใช้ ICT สำหรับเด็กและเยาวชนอย่างสร้างสรรค์ มีคุณธรรม จริยธรรม และรูปแบบการเรียนรู้แบบใหม่ของเยาวชนไทยที่มี ICT เป็นเครื่องมือสนับสนุน รวมทั้งยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในเรื่องการพัฒนาการเรียนรู้ โดยเป็นต้นแบบการเรียนการสอนในยุคดิจิตอลให้กับโรงเรียนและสถาบันต่างๆ ซึ่งรูปแบบกิจกรรมฯ นั้นจะมีทั้งการจัดอบรมครูแกนนำ การจัดอบรมขยายผลสู่เยาวชน การจัดค่ายเยาวชนแบบไปกลับ การจัดอบรมเข้มแบบค่ายสำหรับเยาวชน และการประกวดผลงาน”
        นายสือ กล่าวส่วนกิจกรรมจัดอบรมครูแกนนำในครั้งนี้ เป็นการจัดค่ายอบรมเข้มให้กับครูแกนนำที่จะไปถ่ายทอดต่อ ในชื่อ “ค่ายครูยุคดิจิตอล (MICT Digital Teacher Camp)” โดยมีครูอาจารย์แกนนำ ICT ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และครูจากศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน จำนวนประมาณ 200 คน เข้าร่วมการอบรมในหัวข้อ “เรียนให้เป็นเรียน เรียนอย่างไรในยุคดิจิตอล” ซึ่งจะเน้นเนื้อหาทางวิชาการที่สำคัญๆ ด้าน ICT เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนให้กับเยาวชนทั่วประเทศต่อไป

วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โครงสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

โครงสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

           เป็นรูปแบบของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกันเป็นระบบเครือข่าย ในระบบเครือข่ายหนึ่งๆจะมีรูปแบบของการเชื่อมต่อที่แตกต่างกัน อาจเป็นการเชื่อมต่อระบบใช้สายหรือระบบไร้สาย  ก็ได้  โดยทั่วไปโครงสร้างของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกลักษณะของการเชื่อมต่อได้ดังนี้



 1.โครงสร้างเครือข่ายแบบบัส (bus topology )

จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลทางเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกันจะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ลและมีการแบบเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง  ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือใช้สื่อนำข้อมูลน้อยช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องได้เครื่องหนึ่งเสียก็ไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม ข้อเสีย คือ ตรวจจุดที่มีปัญหากระทำได้ค่อยข้างยากและถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเกิดปัญหา








 2.โครงสร้างเครือข่ายแบบวงแหวง ( ring  topology)


มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่มีแต่ละเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมเช่นเดียวกันทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอจากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทางในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้องการส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้ จะไม่ทำงานต่อไปได้ข้อดี คือ  ใช้สายเคเบิ้ลน้อยและถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง








3.โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (stsr topology)


โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่าวคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุดศูยน์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆจะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆในระบบส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย








4.โครงสร้างเครือข่ายแบบเมช (merh yopology)


โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช มีการทำงานโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีช่องสัญญาณจำนวนมาก เพื่อที่จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆทุกเครื่อง โครงสร้างเคือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะส่งข้อมูลได้อิสระไม่ต้องรการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆทำให้การส่งข้อมูลมีความรวดเร็ว แต่ค่าใช้จ่ายสายเคเบิ้ลก็สูงด้วยเช่นกัน







 5.โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบผสม (hybird topology)


เป็นโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสามความสามารถของโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายๆแบบรวมกัน ประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อยๆหลายเครือข่ายที่มีโครงสร้างแตกต่างกันมาเชื่อต่อกันตามความเหมาะสมทำให้เกิดเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงในการสื่อสารข้อมูล